เจียง ไคเชก (ภาษาจีนกลาง: เจี่ยง จงเจิ้ง หรือ เจี่ยง เจี้ยสือ: Chiang Kai-Shek, Jiǎng Zhōngzhèng, Jiǎng Jièshí) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของ ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รวมอายุได้ 88 ปี มีวันเกิดตรงกับวันปล่อยผีของฝรั่ง (ฮาโลวีน) และมีวันตายตรงกับวันไหว้ผีของจีน (เช็งเม้ง)
เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1928) ถึง (ค.ศ. 1949) ต่อมาได้ไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ต่อต้านรัฐบาลของหยวน ซื่อไข่ และตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งของ ดร. ซุน ยัตเซน และเมื่อ ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน และพยายามรวบอำนาจในพรรคด้วยการกำจัดแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งด้วยอำนาจทหารและอำนาจเงิน โดยมีการต่อท่อสายสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นกระทั่งสามารถยกตนเองก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน และได้รับยกย่องเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีนจากคำบรรยายใต้ภาพดังนี้ 「蔣公於民國三十七年當選中華民國第一任總統」 ในปี พ.ศ 2491 (ค.ศ. 1948)[ต้องการอ้างอิง]
เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (จงกว๋อก้งฉ่านต่าง) โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จนกระทั่งกลายเป้นสงครามกลางเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1927) ถึง (ค.ศ. 1937) และระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1946) ถึง (ค.ศ. 1949) แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ถึงปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) และในสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน
จีนเปลี่ยนระบอบ ๑๐ เจียงไคเช็ค
พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ กรมอิสระ แห่งกองทัพปฏิวัติประชาราษฎร์ที่ ๔ ของเย่ถิง และกำลังพลบางส่วนของกองทัพที่ ๗ เป็นส่วนล่วงหน้าที่เดินทัพเข้ามณฑลหูหนานเพื่อทำสงครามปราบขุนศึกภาคเหนือ ถล่ม (๑) อู๋เพ่ย ขุนศึกของกลุ่มเหอเป่ยในมณฑลหูหนานและหูเป่ย (๒) จางจ้อหลิน ขุนศึกกลุ่มเหลียวหนิง และ (๓) ซุนฉวนฟาง ขุนศึกที่แยกตัวเองออกมาจากกลุ่มเหอเป่ย ตั้งตัวเองเป็นใหญ่อยู่ในมณฑลเจียงซู เจ๋อเจียง อันฮุย เจียงซี และฮกเกี้ยน เป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นตามคำแนะนำของกาแลน ที่ปรึกษาทางการทหารจากโซเวียตที่มุ่งรวมศูนย์กำลังทหาร ทำลายล้างทีละส่วน
- ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ รัฐบาลปฏิวัตินัดชุมนุมพลเพื่อประกาศทำสงครามปราบขุนศึกภาคเหนืออย่างเป็นทางการ แต่งตั้งเจียงไคเช็คเป็นผู้บัญชาการใหญ่ กองทัพปราบขุนศึกภาคเหนืออย่างเป็นทางการ
-พรรคคอมมิวนิสต์เคยช่วยเหลือพรรคก๊กมินตั๋งเปิดสาขาพรรคอย่างๆลับๆในมณฑลหูเป่ยมาก่อน การทำสงครามปราบขุนศึกภาคเหนือในหูเป่ยจึงเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ไม่ยาก
-เมื่ออู๋เพ่ยฝูรู้ข่าวว่ากองทัพปฏิวัติพุ่งเป้ามาที่ตน อู๋เพ่ยฝูจึงสั่งการให้เฉินเจียม่อ ผู้บัญชาการทหารหูเป่ยเคลื่อนพลลงใต้ รักษาเส้นทางคมนาคมสำคัญตามทางรถไฟเอาไว้ให้ได้ รักษาติงซื่อเฉียวไว้ได้ก็เท่ากับว่าสามรรถรักษาชีวิตของตนเอาไว้ได้ด้วยเช่นกัน
- ๒๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ กรมอิสระ แห่งกองทัพปฏิวัติประชาราษฎร์ที่ ๔ ของเย่ถิงรุกคืบมาถึงฉงหยางตอนพลบค่ำ ก่อนฟ้าสางก็เข้าประชิดสถานีรถไฟจงหว่อผู่ได้สำเร็จ จับเป็นหลี่จินเหมิน ผู้บัญชาการกรมและทหารอื่นๆได้อีกหลายร้อยนาย ติงซื่อเฉียวห่างออกไปเพียง ๓๐ ลี้เท่านั้น
- ๒๖ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ เย่ถิงเปิดฉากโจมตีติงซื่อเฉียว ชุมชนเล็กๆบนเส้นทางรถไฟสายอู่ชาง-ฉางชุน ในอำเภอเวยหนิง ปะทะกับกำลังทหารกว่า ๒ หมื่นนายของอู๋เพ่ยฝูซึ่งอยู่ในชัยภูมิที่ดีกว่า แต่สุดท้ายกองทัพของอู๋เพ่ยฝูก็พบกับความปราชัยในช่วงสายของวันรุ่งขึ้น หูเป่ยใกล้จะเป็นของกองทัพปฏิวัติแล้ว
- ๖ – ๗ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๖ กองทัพปฏิวัติสามารถยึดฮั่นโขว่และฮั่นหยางได้
- ๑๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ หลังปิดล้อมอู่ชงมากว่าเดือน กองทัพปฏิวัติก็ยึดอู่ชางได้สำเร็จ กรมอิสระแห่งกองทัพปฏิวัติประชาราษฎร์ที่ ๔ ของเย่ถิงจึงได้รับสมญานามว่าเป็น “กองทหารเหล็ก”
-ต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๒๖ ทำลายล้างกำลังหลักของซุนฉวนฟางได้ทั้งหมด เมืองจิ่วเจียง หนานชาง ตกเป็นของรัฐบาลปฏิวัติ ฟุโจว เมืองเอกของฮกเกี้ยนก็ได้มาโดยไม่ต้องรบ
-กลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๒๖ ฝงอี้เสียงยกทัพเมืองอู่หยาง มณฑลสุยหย่วนลงใต้ แล้วมณฑลส่านซีและกันซู่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝงอี้เสียง เป้าหมายต่อไปคือถงกวน ทางทิศตะวันออก สงครามปราบขุนศึกภาคเหนือใกล้จะยุติแล้วเพราะกรรมกร ชาวนา ทหาร ร่วมมือกัน ทั้งนำทาง ส่งข่าวสาร สอดแนม ขนส่ง ขจัดทุ่นระเบิด ปลอบขวัญทหาร แบกแปลช่วยทหารบาดเจ็บ ก่อกวนแนวหลังข้าศึก ก่อตั้งกองกำลังป้องกันตนเองของกรรมกรชาวนาเพื่อเข้าร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหาร เป็นต้น
-๑๓ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดการประชุมพิเศษขึ้น เฉินตู๋ซิ่วเสนอให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนหามาตรการป้องกันยับยั้งการรัฐประหารทางทหาร เฉินตู๋ซิ่วเริ่มไม่ไว้ใจท่าทีของเจียงไคเช็คที่พยายามรวบอำนาจรัฐและอำนาจทางการทหารเอาไว้ในมือตนเองแต่เพียงผู้เดียว กองทหารที่เป็นขุนศึกภาคเหนือมาแต่เดิม รวมทั้งขุนศึกท้องถิ่นต่างก๋หวั่นเกรงว่าตนเองจะถูกกองทัพปราบขุนศึกทำลาย จึงทยอยกันเข้าสวามิภักดิ์ต่อเจียงไคเช็คเพื่อหาทางเอาตัวรอด นักการเมืองและข้าราชการจำนวนมากก็สยบยอมอ่อนน้อมต่อเจียงไคเช็คเช่นกัน นอกจากเจียงไคเช็คจะมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆแล้ว การที่เจียงไคเช็คเสนอให้ย้ายคณะกรรมการกลางของพรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ไปหนานชางซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการใหญ่ กองทัพปราบขุนศึกภาคเหนือ ยังทำให้ พรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเจียงไคเช็คแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การลอบสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และบุกจู่โจมทำลายสำนักงานของสหภาพแรงงาน และสำนักงานพรรคก๊กม้นตั๋งในเมืองกั้นโจว จิ่วเจียง อันชิ่ง และอีกหลายเมืองที่อยู่ภายใต้การดูแลของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งฝ่ายซ้ายก็คาดว่ามาจากการวางแผนกำจัดเสี้ยนหนาม คนที่คิดตรงกันข้ามกับตนของเจียงไคเช็คด้วย
แต่ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับมีมติให้หยุดขยายมวลชนเอาไว้ชั่วคราว ซึ่งเหมาเจ๋อตุงเห็นว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด และพยายามออกหน้ามาคัดค้านและต่อต้านมติดังกล่าวอย่างเิาจริงเอาจัง
-เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๒๗ หลิวซ่าวฉีและหลี่ลิซานนำกรรมกรในอู่ฮั่นและเมืองอื่นๆบุกเข้ายึดเขตเช่าอังกฤษในฮั่นโขว่ ส่วนกองทัพปฏิวัติประชาราษฎร์นั้นก็เข้าควบคุมเขตเช่าอังกฤษในเมืองจิ่วเจียง
-๙ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๒๗ กระทรวงต่างประเทศทำข้อตกลงกับอังกฤษ รับมอบเขตเช่าอังกฤษในฮั่นโขว่และจิ่วเจียงกลับคืนมา
-๒๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ กองทัพปราบขุนศึกรุกประชิดถึงชานเมืองเซี่ยงไฮ้ เฉินตู๋ซิ่ว หลออี้หนง โจวเอินไหล และจ้างซื่อเอี้ยนก็นำกรรมกรนัดหยุดงาน จากนั้นก็ตามมาด้วยการลุกขึ้นสู้โดยใช้อาวุธโดยโจวเอินไหลเป็นผู้บัญชาการใหญ่ การต่อสู้ผ่านไปราว ๓๐ ชั่วโมงเศษก็ได้รับชัยชนะ มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของเซี่ยงไฮ้ขึ้น
-๒๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ กองทัพปราบขุนศึกยึดนานกิงได้สำเร็จ เรือรบอังกฤษและอเมริกายิงปืนเรือใส่นานกิงในตอนบ่าย อ้างว่าเพื่อคุ้มครองประชาชนของตนเอง ทั้งทหารและประชาชนจีนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
-ต้นเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ เจียงไคเช็คแอบจัดประชุมลับขึ้นในเซี่ยงไฮ้ วางแผนใช้มาตรการขั้นรุนแรงเพื่อกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์ ความลับรั่วไหลมาถึงสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่คอมมิวนิสต์สากลไม่เห็นด้วยที่คอมมิวนิสต์จีนจะต่อสู้แตกหักกับเจียงไคเช็ค
-๕ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ เฉินตู๋ซิ่วและอวงจิงเว่ย ซึ่งพึ่งกลับมาจากต่างประเทศ จึงร่วมกันออกแถลงการณ์ว่ากรณีที่มีข่าวว่าผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งขับไสไล่ส่งพรรคคอมมิวนิสต์ กดขี่บีบคั้นสหภาพกรรมกรและกองรักษาการณ์ของกรรมกรนั้น เรื่องนี้เป็นแต่เพียงแค่ข่าวลือ ห้ามมิให้เชื่อข่าวลือนี้เด็ดขาด
-๑๒ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ อันธพาลกลุ่มใหญ่ภายใต้การสั่งการของเจียงไคเช็คบุกโจมตีกองรักษาการณ์ของกรรมกรในเซี่ยงไฮ้อย่างฉับพลัน กองทัพที่ ๒๖ สวมหน้ากากคนกลางเข้าไกล่เกลี่ย บังคับปลดอาวุธกองรักษาการณ์กรรมกร
-๑๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ กรรมกรเซี่ยงไฮ้ราว ๑ แสนคนออกมาร่วมชุมนุมต่อต้านการปลดอาวุธกรรมกร กองทัพที่ ๒๖ ซึ่งซุ่มรออยู่ที่ถนนเป่าซานก็จัดการลั่นกระสุนใส่ผู้ประท้วงเสียชีวิตกว่า ๑๐๐ ศพ บาดเจ็บอีกนับไม่ถ้วน
-๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ เจียงไคเช็คจัดตั้งรัฐบาลประชาราษฎร์ขึ้นที่นานกิง ประเทศจีนแตกแยกออกเป็น ๓ คือรัฐบาลจางจ้อหลินที่ปักกิ่ง รัฐบาลประชาราษฎร์เดิมที่อู่ฮั่นซึ่งยังคงยึดเจตนารมณ์เดิมของดน.ซุนคือร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ มีพื้นที่ครอบคลุม ๓ มณฑลคือหูเป่ย หูหนาน และเจียงซีและรัฐบาลประชาราษฎร์ใหม่ของเจียงไคเช็คที่นานกิง ดังนั้นคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จึงย้ายฐานบัญชาการมาอยู่กับรัฐบาลอู่ฮั่น ร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งฝ่ายซ้ายภายใต้การชี้นำของอวงจิงเว่ยต่อไป
-๒๗ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ พรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ ๕ ในอู่ฮั่น แต่ที่ประชุมไม่อาจหาทางออกต่อสถานการณ์อันเลวร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ได้เพราะเฉินตู๋ซิ่วกับโบโรดินไม่มั่นใจในกองทัพปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงต้องยอมตกเป็นเบี้ยล่างให้เจียงไคเช็ครุกไล่กระทำเอาแต่เพียงฝ่ายเดียว
-๒๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ หลี่ต้าจาว ผู้นำการเผยแพร่ลัทธิมาร์กซิสต์ในประเทศจีน และผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกจางจ้อหลิน ขุนศึกกลุ่มเหลียวหนิง แขวนคอในปักกิ่ง
-กลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ พรรคคอมมิวนิสต์จีนแต่งตั้งจางกว๋อเทา หลี่เหวยฮั่น โจวเอินไหล หลี่ลิซาน และจางไท่เหลย เป็นคณะกรรมการประจำของกรมการเมือง เป็นคณะกรรมการกลางชั่วคราวที่ตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคอมมิวนิสต์สากล
๑๓ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนออกแถลงการณ์ประณามคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ในอู่ฮั่น ประกาศจุดยืนคัดค้านการทำรัฐประหารของเจียงไคเช็ค สนับสนุนการต่อสู้กับพวกจักรวรรดินิยมและศักดินานิยม และมีมติให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวออกมาจากคณะรัฐบาลประชาราษฎร์ แต่ยังคงร่วมมือกับฝ่ายปฏิวัติในพรรคก๊กมินตั๋งต่อไป
๑๓ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนออกแถลงการณ์ประณามคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ในอู่ฮั่น ประกาศจุดยืนคัดค้านการทำรัฐประหารของเจียงไคเช็ค สนับสนุนการต่อสู้กับพวกจักรวรรดินิยมและศักดินานิยม และมีมติให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวออกมาจากคณะรัฐบาลประชาราษฎร์ แต่ยังคงร่วมมือกับฝ่ายปฏิวัติในพรรคก๊กมินตั๋งต่อไป
-๑๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ อวงจิงเว่ยเรียกประชุมคณะกรรมการประจำของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋ง ที่ประชุมมีมติให้ประกาศแยกทางกันเดินกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเป็นทางการ สงครามกลางเมืองที่กินเวลายาวนานถึง ๑๐ เริ่มต้นขึ้นแล้ว ภายในเวลาไม่ถึง ๑ ปีตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๗ – กลางปีค.ศ. ๑๙๒๘ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ตกเป็นเหยื่อสังหารของเจียงไคเช็ค ขุนศึกกระหายเลือด ไม่น้อยกว่า ๓๘๐,๐๐๐ คน ฟ้าหนอฟ้า คนคำนวณมิเท่าฟ้า ทั้งๆที่รู้ ทั้งๆที่ระแวงระวังคนอย่างเจียงไคเช็คเอาไว้แล้วตั้งแต่แรก แต่สุดท้ายพรรคคอมมิวนิสต์ก็ยังหนีไม่พ้นต้องพังเพราะเงื้อมมือของเจียงไคเช็ค ประสบการณ์ ความจัดเจนแท้ๆที่เปรียบเทียบกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งผ่านสมรภูมิการต่อสู้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จากดร.ซุนยัดเซ็นสู่เจียงไคเช็ค แต่อีกฝ่ายนั้นเป็นแค่เพียงพรรคการเมืองเกิดใหม่ รู้แต่รบ ปลุกระดมมวลชน เล่ห์เหลี่ยมยังห่างไกลจากจิ้งจอกเจ้าเล่ห์อยู่หลายขุม ผลจากการไล่ล่าสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ของเจียงไคเช็ค สมาชิกพรรคพลีชีพไปเกือบ ๔ แสนคนเหลือเพียงหมื่นกว่าคนภายในระยะเวลาไม่ถึงปี พรรคคอมมิวนิสต์ต้องเปลี่ยนมาเคลื่อนไหวในทางลับ โชคดีที่พรรคคอมมิวนิสต์สามารถดึงคนคุณภาพอย่างเฮ่อหลง เผิงเต้อไหว เย่เจี้ยนอิง สีเท้อลิ ฯลฯ มาร่วมงานกับพรรคได้ ความจริงที่แสนโหดร้ายก่อเกิดบทเรียนราคาแพงจากความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น “สองมือเปล่ามีแต่ตายสถานเดียว ลุกขึ้นสู้สุดใจขาดดิ้นจึงพอมีหวังรักษาชีวิตรอดเอาไว้ได้ ไม่มีทางเลือกอื่น”
พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงตัดสินใจเลือกเมืองหนานชางเป็นฐานที่มั่น ด้วยกำลังพลที่เหลืออยู่ประมาณ ๓ หมื่นนาย ประกอบด้วย กองทัพที่ ๒๒ ของเฮ่อหลง กองพลที่ ๒๔ แห่งกองทัพที่ ๑๑ ของเย่ถิง กรมการศึกษานายทหารของกองทัพที่ ๓ ปละกองกำลังส่วนหนึ่งของกรมตำรวจเมืองหนานชาง
-เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๘ จูเต๋อกับเฉินอี้นำกำลังลุกขึ้นสู้ที่หูหนานใต้ขึ้นมาสมทบกับกองทหารของเหมาเจ๋อตุง จัดตั้งเป็นกองทัพปฏิวัติของกรรมกรชาวนาที่ ๔(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแดงของกรรมกรชาวนาที่ ๔) เหมาเจ๋อตงเป็นผู้แทนพรรคและเลขาธิการคณะกรรมการทหาร จูเต๋อเป็นแม่ทัพ จากนั้นก็ตั้งคณะกรรมการพิเศษเขตแดนต่อแดนหูหนาน-เจียงซีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลกรรมกรชาวนาเขตแดนต่อแดนขึ้นอีก “การบรรจบทัพของจู-เหมา” สร้างชื่อลือลั่นจากผลงานการขับไล่กองทัพก๊กมินตั๋งได้ถึง ๓ ครั้ง ทำให้เกิดเคล็ดความ ๑๖ คำในการทำสงครามจรยุทธ์ที่ว่า “ข้าศึกรุกเราถอย ข้าศึกพักเรากวน ข้าศึกเพลียเราตี ข้าศึกถอยเราไล่” ขึ้น กระแสปฏิวัติในแถบนั้นคึกคักขึ้นมาในทันที
-๑๘ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๒๘ พรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดการประชุมสมัชชาครั้งที่ ๖ ในกรุงมอสโก ภายใต้การช่วยเหลือจากคอมมิวนิสต์สากล ที่ประชุมเห็นว่าประเทศจีนในขณะนั้นอยู่ในขั้นที่เรียกว่าการปฏิวัติลัทธิประชาธิปไตยแบบชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นการปฏิวัติในขั้นที่ ๑ ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งนั้นเป็นเพราะว่ากระแสคลื่นลูกใหม่ยังไม่เกิด พรรคต้องช่วงชิงมวลชนเพิ่มฐานสมาชิกที่มีอยู่กว่า ๔ หมื่นคนนี้ให้เพิ่มขึ้นไปอีก แต่ที่ประชุมก็ยังคงมุ่งเน้นการปฏิบัติงานในเขตเมืองกันต่อไป ขณะที่เหมาเจ๋อตุงและจูเต๋อนั้นยังคงซุ่มกำลัง ตั้งฐานที่มั่นอยู่บนเขาจิ่งกังซาน ปลุกระดมชาวนา โจมตีทุนสามานย์ ขยายฐานมวลชนอย่างได้ผลดียิ่งเพราะอิทธิพลของพรรคก๊กมินตั๋งแผ่เข้ามาไม่ถึง
-๒๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ พรรคคอมมิวนิสต์แต่งตั้งคณะกรรมการส่วนหน้าการลุกขึ้นสู้ในเมืองหนานชาง ประกอบด้วย หลี่ลิซาน ยุ่นไต้อิง เผิงไพ่ และโจวเอินไหล ๔ วันต่อมาเฮ่อหลงและเย่ถิงก็นำกำลังเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการทหารทั้งในเมืองและชานเมืองหนานชางได้สำเร็จ. ขณะที่พรรคก๊กมินตั๋งนั้นก็กำลังเรียกระดมพลจากหูหนานและเจียงซีมารวมพลกันเพื่อบุกโจมตีเขาจิ่งกันซาน
-๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ เวลา ๘ : ๐๐ น. สิ้นเสียงปืนและระเบิดที่ดังสนั่นหวั่นไหวมาตั้งแต่ตี ๓ กองกำลังลุกขึ้นสู้ยึดเมืองหนานชางเอาไว้ได้แล้ว ทหารกว่า ๓ พันนายของนายพลจูเผยเต๋อ พรรคก๊กมินตั๋ง ต้องวางอาวุธยอมจำนน ต่อมาภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเรืองอำนาจจึงกำหนดให้วันที่ ๑ สิงหาคมเป็นวันที่ระลึกแห่งการถือกำเนิดของกองทัพประชาชนจีน ๗ ใน ๑๐ จอมพลจีนที่เข้าร่วมการต่อสู้ครั้งนี้ได้แก่ เฮ่อหลง จูเต๋อ หลิวป้อเฉิง เนี่ยหยงเจิน เย่เจี้ยนอิง เฉินอี้ และหลินเปียว
พรรคก๊กมินตั๋งแก้ไขสถานการณ์โดยส่งกองทัพด้านที่ ๒ ของนายพลจางฝ่าขุยมาจัดการกับกองทัพลุกขึ้นสู้ที่เมืองหนานชางในทันที จูเผยเต๋อก็พักทัพ นัดชุมนุมพลที่เหลืออยู่ในเมืองจี้อันและจางซู่ รอเวลาที่จะกลับมาแก้มือกันใหม่อีกครั้ง ส่วนเจียงไคเช็คและอวงจิงเว่ยก็ระดมพลจำนวนมากส่งเจ้ามาที่เจียงซีเพื่อปิดล้อมทำลายกองกำลังลุกขึ้นสู้ให้สิ้นซาก
หนานชางถูกปิดล้อมไว้หมดทั้ง ๔ ด้าน กองกำลังลุกขึ้นสู้จึงต้องรีบถอนตัวออกมาจากหนานชางซ่อนตัวอยู่ที่ซัวเถา ในแต้จิ๋ว และแถบลุ่มแม่น้ำตงเจียง มณฑลกวางตุ้ง โดยเดินทางผ่านเจียงซีใต้เพื่อไปสมทบกับกองกำลังลุกขึ้นสู้ของชาวนา ฮกเกี้ยนเหนือ ชุมนุมพลกันที่นั่นเพื่อยึดกว่างโจว ฟื้นฟูฐานที่มั่นเดิมของฝ่ายปฏิวัติขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ควบคุมเส้นทางออกทะเลเพื่อขอรับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์สากล ทำสงครามปราบขุนศึกภาคเหนืออีกครั้ง
-๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมประชุมกันเพื่อปรึกษาหารือแก้ไขสถานการณ์ในอู่ฮั่น เขตเช่าเก่าของรัสเซีย ริมฝั่งแม่น้ำฉางเจียง เหมาเจ๋อตุงเสนอต่อที่ประชุมว่า “อำนาจรัฐได้มาจากปากกระบอกปืน”(ต่อมาได้พัฒนาเป็น “อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน”) คณะกรรมการบริหารของกรมการเมืองชั่วคราวแต่งตั้งเหมาเจ๋อตุงเป็นผู้แทนพิเศษของศูนย์กลางเพื่อปรับคณะกรรมการมณฑลหูหนานใหม่ นำการลุกขึ้นสู้ในการเก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วงตามชายแดนหูหนาน-เจียงซี รวบรวมกำลังพลได้ ๕ พันนาย จัดตั้งเป็นกองพลที่ ๑ ของกองทัพปฏิวัติกรรมกรชาวนา มีหลูเต้อหมิงเป็นผู้บัญชาการใหญ่
-๙ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๘ กองพลที่ ๑ ของกองทัพปฏิวัติกรรมกรชาวนาตีเมืองฉางซาไม่สำเร็จ เหมาเจ๋อตุง เลขาธิการคณะกรรมการส่วนหน้าจึงสั่งให้หลูเต้อหมิงเคลื่อนย้ายกำลังพลไปหลบซ่อนตัวตามป่าเขา หลูเต้อหมิงนำทัพมาอยู่ที่หมู่บ้านซานวาน อำเภอหย่งซิน มณฑลเจียงซี ปรับลดกำลังจาก ๑ กองพลเป็น ๑ กรม ให้สาขาพรรคตั้งอยู่ในกองร้อย ตั้งคณะกรรมการทหารตามระดับชั้นต่างๆ
-๒๗ – ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๘ กองกำลังลุกขึ้นสู้ยึดอำเภอฉาวอันและซัวเถาได้ แล้วจึงดาหน้าเข้าตีเมืองจี้หยางและทังเคิงต่อไป แต่กลับต้องปราชัย พ่ายแพ้ สูญเสียอย่างหนักจากการถูกล้อมตีที่ทังเคิง กองกำลังลุกขึ้นสู้ที่ซัวเถาถูกโดดเดี่ยวจึงไม่อาจหยัดยืนต้านทานต่อไปได้ ต้องเคลื่อนย้ายกำลังพลที่เหลือมาอยู่ที่ไห่ลุฟง ส่วนจูเต๋อกับเฉนอี้ก็ทำสงครามกองโจรอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างเจียงซี-กวางตุ้ง-หูหนาน
๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ เหมาเจ๋อตุงนำทัพมาตั้งที่เหมาผิง อำเภอหนิงกัง เพื่อสร้างฐานที่มั่นปฏิวัติบนเขาจิ่งกังซาน ใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองแทนการโจมตีเมืองใหญ่ เขตแดนต่อแดนหูหนาน-เจียงซีเปิดการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคครั้งที่ ๒ ขึ้น เหมาเจ๋อตุงเสนอกลนุทธป่าล้อมเมืองแทนการต่อสู้ในเมืองแบบเดิม
๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ เหมาเจ๋อตุงนำทัพมาตั้งที่เหมาผิง อำเภอหนิงกัง เพื่อสร้างฐานที่มั่นปฏิวัติบนเขาจิ่งกังซาน ใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองแทนการโจมตีเมืองใหญ่ เขตแดนต่อแดนหูหนาน-เจียงซีเปิดการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคครั้งที่ ๒ ขึ้น เหมาเจ๋อตุงเสนอกลนุทธป่าล้อมเมืองแทนการต่อสู้ในเมืองแบบเดิม
-๑๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ จางไท่เหลย เลขาธิการคณะกรรมการมณฑลกวางตุ้งก่อการลุกขึ้นสู้ในกว่างโจว รบกันอยู่ ๓ วันก็พ่ายแพ้ จางไท่เหลยก็สังเวยชีพไปกับปฏิบัติครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ปฏิบัติการเกือบ ๑๐๐ ครั้งในเวลาไม่ถึงปีล้วนพ่ายแพ้ พรรคคอมมิวนิสต์ประเมินว่าเป็นเพราะความคิดที่เอียงซ้ายจนเกินไป คิดแต่จะล้างแค้นเจียงไคเช็คเพราะเพลิงแค้นครอบงำอยู่ถ่ายเดียว
-๑๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๒๙ เหมาเจ๋อตุงและจูเต๋อเคลื่อนกำลังกองทัพแดงที่ ๔ ออกจากเขาจิ่งกังซาน มุ่งหน้าสู่เจียงซีใต้และฮกเกี้ยนตะวันตกเพื่อสมทบกับกองทัพแดงที่ ๕ ของเผิงเต้อไหว
-มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๒๙ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เพิ่มจาก ๔ หมื่นคนเป็น ๖๙,๐๐๐ หมื่นคน
-มีนาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีกองทัพแดงทั่วประเทศ ๑๓ กองทัพ กำลังพล ๖๒,๐๐๐ นาย สมาชิกพรรคเพิ่มจาก ๖๙,๐๐๐ คนเป็น ๑ แสนคน
-พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ เจียงไคเช็คเปิดศึกกับฝงอี้เสียงและเอี๋ยนซิซานแถบภาคกลางของจีน
-๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๓๐ หลี่ลิซานเปิดประชุมกรมการเมืองของคณะกรรมการกลางขึ้น ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการบุกขึ้นด้วยอาวุธในเขตเมืองโดยถืออู่ฮั่นเป็นศูนย์กลาง “ชุมนุมพลกันในอู่ฮั่น” รวมศูนย์กองทัพแดงทั่วประเทศเข้าโจมตีใจกลางเมือง ให้ “ม้าศึกดื่มน้ำในแม่น้ำฉางเจียง” เมื่อได้ชัยชนะเด็ดขาดแล้ว
ส่วนกองทัพแดงในเขตเจียงซีใต้และฮกเกี้ยนตะวันตกกว่า ๒ หมื่นนายก็ผนวกรวมเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มกองทัพที่ ๑ จูเต๋อเป็นผู้บัญชาการใหญ่ เหมาเจ๋อตงเป็นกรรมการกรมเมืองและเลขาธิการคณะกรรมการส่วนหน้า เหมาเจ๋อตงเสนอให้เดินหน้าปฏิวัติที่ดินอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ฐานที่มั่นสำคัญเช่น หูหนาน-หูเป่ยตะวันตก ; หูเป่ย-เหอหนาน-อันฮุย ; ฮกเกี้ยน-เจ้อเจียง-เจียงซี ; หูหนาน-เจียงซี ; สองฝั่งแม่น้ำจ่อเจียงและอิ้วเจียงในกว่างซี ; ตงเจียงและเกาะไหหลำในกวางตุ้ง เป็นต้น
ปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ คอมมิวนิสต์สากลส่งโจวเอินไหลและฉีชิวไป๋กลับจีนมาแจ้งเตือนหลี่ลิซานว่ากำลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด
ปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ คอมมิวนิสต์สากลส่งโจวเอินไหลและฉีชิวไป๋กลับจีนมาแจ้งเตือนหลี่ลิซานว่ากำลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด
-ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ สงครามใหญ่ระหว่างบรรดาขุนศึกต่างๆในจีนกลางสิ้นสุด เจียงไคเช็คจึงสามารถหันปากกระบอกปืนพุ่งตรงมาที่การกวาดล้างกองทัพแดงของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามฐานที่มั่นต่างๆทสงคอนใต้ได้อย่างเต็มที่ กองทัพแดงด้านที่ ๑ ของแม่ทัพจูเต๋อและเหมาเจ๋อตุงโดนเล่นงานหนักกว่าใครเพื่อน ช่วงเวลา ๙ เดือนนับจากตุลาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ – กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๑ ต้องเผชิญการล้อมปราบถึง ๓ ครั้ง แต่ก็สามารถวางกำลังซุ่มโจมตีกองทัพของเจียงไคเช็คให้แพ้พ่ายไปทั้ง ๓ ครั้ง ส่งผลให้ฐานที่มั่นในเจียงซีใต้และฮกเกี้ยนตะสันตกเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน ครอบคลุมอาณาเขต ๒๑ อำเภอ พื้นที่ ๕ หมื่นตารางกิโลเมตร ประชากร ๒.๕ ล้านคน ส่วนฐานที่มั่นอื่นอย่างหูหนาน-เหอหนาน-อันฮุย; หูหนาน-หูเป่ย-ตะวันตก ฯลฯ ก็ได้รับชัยชนะ เอาตัวรอดจากการถูกล้อมปราบได้เช่นกัน
-ปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๓๑ เซี่ยงจง เลขาธิการใหญ่ของกรมการเมืองศูนย์กลาง พรรคก๊กมินตั๋ง ถูกจับ ด้วยควมรักตัวกลัวตาย เซี่ยงจงจึงเลือกที่จะขายเพื่อน หวางหมิงต้องหลบหนีออกจากเซี่ยงไฮ้ ส่วนโจวเอินไหลก็ต้องหลบเข้าฐานที่มั่นส่วนกลางตามคำแนะนำของคอมมิสนิสต์สากล ส่งข่าวถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ตั้งกรมการเมืองชั่วคราวของศูนย์กลางพรรคขึ้นในเซี่ยงไฮ้ โดยให้ป๋อกู่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด
-๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๑ คอมมิวนิสต์สากลส่งพาเวล มีฟมาร่วมประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๖ ในเซี่ยงไฮ้เพื่อคัดค้านแนวทางของหลี่ลิซาน และลัทธิประนีประนอมต่อแนวทางของหลี่ลิซาน สุดท้ายแล้วที่ประชุมก็ได้แต่งตั้งให้หวางหมิงเข้ามาเป็น ๑ ในคณะกรรมการกลาง และเป็นกรรมการกรมการเมืองด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
- ๑๘ กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๑ กองทัพกวนตงของญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ทางภาคอีสานของจีนบุกโจมตีค่ายเป่ยต้าอิ๋งและเมืองเสิ่นหยางพร้อมกัน ยึดมณฑลเหลียวหนิง จี้หลิน และเฮยหลงเจียงได้ใน ๔ เดือน
- ๑ – ๕ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๓๑ คณะผู้แทนของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์เปิดการประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งที่ ๑ ขึ้นที่เมืองยุ่ยจินในเจียงซี มีมติประณามความเห็นของเหมาเจ๋อตงว่าเป็นทฤษฎีจัดเจนที่คับแคบ แนวทางชาวนารวย และลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวาตลอดมาที่หนักหน่วงเป็นอย่างยิ่ง ที่ประชุมเห็นว่าจะต้องรวมศูนย์กำลังยิงต่อต้านการเอียงขวา
- ๗ – ๒๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๓๑ มีการประชุมสมัชชาผู้แทนโซเวียตทั่วประเทศขึ้นที่ยุ่ยจิน ที่ประชุมมีมติให้ก่อตั้งรัฐบาลกลางชั่วคราวของสาธารณรัฐโซเวียตจีนขึ้น แล้วแต่งตั้งเหมาเจ๋อตงเป็นประธานรัฐบาลกลางชั่วคราว และแต่งตั้งเซี่ยงอิงกับจางกว๋อเทาเป็นรองประธาน
-ฤดูร้อนปี ค.ศ. ๑๙๓๒ เจียงไคเช็คระดมพลเข้าล้อมปราบฐานที่มั่นปฏิวัติเป็นครั้งที่ ๔
-ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๓๒ กรมศูนย์กลางเขตโซเวียตเปิดประชุมเต็มคณะที่เมืองหนิงตู วิจารณ์การทำงานของคนที่อยู่แนวหน้าอย่างโจวเอินไหล เหมาเจ๋อตง จูเต๋อ หวางเจี้ยเสียงอย่างหนัก ในที่สุดเหมาเจ๋อตงก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งกรรมการการเมืองใหญ่ของกองทัพแดงด้านที่ ๑ ให้กลับมาทำงานอยู่ที่แนวหลัง มอบหมายให้โจวเอินไหลสานต่องานตรงนั้นแทน กองทัพแดงภายใต้การบัญชาการของโจวเอินไหลและจูเต๋อสามารถรับมือกองทัพของเจียงไคเช็คได้เป็นอย่างดี ในที่สุดแล้วกองทัพของเจียงไคเช็คก็พบกับความปราชัยเป็นครั้งที่ ๔
-ต้นปี ค.ศ. ๑๙๓๓ ศูนย์กลางชั่วคราวของคณะกรรมการกลางในเซี่ยงไฮ้ถูกบีบให้ต้องอพยพเข้ามาอยู่ที่ฐานที่มั่นส่วนกลาง จากนั้นศูนย์กลางชั่วคราวก็เปิดฉากต่อสู้กับ “แนวทางหลอหมิง” ในฮกเกี้ยน ต่อด้วยเติ้งเสี่ยวผิง เหมาเจ๋อถาน เซ่เหวยจุ้น และกู่ป้อ ซึ่งสนับสนุนแนวทางของเหมาเจ๋อตง
-ครึ่งหลังของปี ค.ศ. ๑๙๓๓ เจียงไคเช็คระดมพล ๑๐ ล้านนายล้อมปราบกองทัพแดงทั่วประเทศเป็นครั้งที่ ๕
-กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๓ ทหาร ๕ ล้านนายถูกเรียกระดมพลมาเพื่อโจมตีฐานที่มั่นส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีทหารอยู่ราว ๘ หมื่นนาย อยู่ภายใต้การดูแลของป๋อกู่ ส่วนที่ปรึกษาทางการทหารนั้นเป็นชาวเยอรมันที่คอมมิวนิสต์สากลส่งมาช่วยชื่ออ๊อตโต บราวน์ หรือ “หลี่เต๋อ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น